หลักการทำงานของวาล์วควบคุมทิศทางลม
วาล์วลม
ทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการไหลของลมอัดให้ไปทิศทางที่ต้องการ ควบคุมการเคลื่อนที่เข้า-ออกของก้านสูบของกระบอกลมหรืออุปกรณ์หัวขับวาล์วโดยใช้แรงลม ส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรในระบบการผลิตอัตโนมัติต่าง ๆ
ซึ่งวาล์วของ AirTAC แต่ละประเภท มีชื่อเรียกตามลักษณะการสั่งงานของวาล์วนั้น ๆ และลักษณะการใช้งาน เช่น
1. วาล์วควบคุมทิศทางแบบ (Directional Control Valve)
คือ วาล์ว ที่ควบคุมทิศทางลมโดยการสั่งงานด้วย ขดลวดไฟฟ้าโซเลนอยด์ (Solenoid Valve) หรือแรงดันลม (Air Pilot Valve) มีรูปแบบการสั่งงานแบบ 3/2 , 4/2 , 5/2 , 5/3 ทาง
2. วาล์วควบคุมทิศทางแบบ (Manual valve)
คือ วาล์ว ที่ควบคุมทิศทางการไหลของลม โดยการสั่งงานด้วยระบบกลไกลทางแมคคานิค คือมือของมนุษย์ นิยมนำไปใช้กับการออกแบบเครื่องจักร ที่ผู้ใช้งานต้องกดปุ่มหรือเหยียบสวิตช์เพื่อใช้งาน เช่น เครื่องตัด เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการเปิด-ปิดของ วาล์วประเภทนี้ เช่น สวิตช์แบบเหยียบ (foot pedal), ก้านคันโยก (Toggle actuator), คันโยน(handle), น๊อปหมุน (knob) และ สวิตช์แบบกดติดปล่อยดับ (Push switch)
3. วาล์วควบคุมทิศทางแบบ (Fluid Control Valve)
คือ วาล์ว ที่ควบคุมทิศทางลมอัดหรือของไหลโดยการสั่งงานด้วยขดลวดไฟฟ้า โซเลนอยด์วาล์ว แบบ 2/2 ทาง สามารถแบ่งตามสถานะของวาล์วได้ 2แบบคือ
- โซเลนอยด์วาล์วแบบ 2/2 ทาง แบบปกติเปิด (Normally Open : NO)
- โซเลนอยด์วาล์วแบบ 2/2 ทาง แบบปกติปิด (Normally Close : NC)
ส่วนประกอบพื้นฐานของวาล์วควบคุมทิศทาง
- Housing หรือ Body มีหน้าที่บรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของวาล์วควบคุมทิศทาง
- Holes หรือ ports ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ เช่น ข้อต่อท่อลม (Fitting)
- Spool เป็นส่วนที่มีการเคลื่อนที่ด้านใน ทำหน้าที่กำหนดทิศทางการไหลของลมอัด
- สปริง ทำหน้าที่ดัน Spool ให้เคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการไหลของลม เช่น สวิตช์เท้า,ก้านคันโยก,น๊อปหมุน ขดลวดโซเลนอยด์ เป็นต้น
- connector เป็นพอร์ตเชื่อมต่อทางไฟฟ้า (electronic connecter) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อกับอุปกรณ์จำพวกคอนโทรลเลอร์ เช่น PLC
ชนิดของวาล์วควบคุมทิศทาง
ตำแหน่งปกติ-เปิด (N/O) ตำแหน่งของ spool จะอยู่ในตำแหน่งเปิด หากไม่มีการสั่งงานเข้าที่วาล์วควบคุมทิศทาง เช่น ใช้สวิตซ์กด หรือ จ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าที่ขดลวดโซเลนอยด์ เป็นต้น (ลมไหลผ่านได้ปกติหลังจากจ่ายลมเข้าสู่วาล์ว)
ตำแหน่งปกติ-ปิด (N/C) ตำแหน่งของ spool จะอยู่ในตำแหน่งปิด หากไม่มีการสั่งงานเข้าที่วาล์วควบคุมทิศทาง เช่น ใช้สวิตซ์กด หรือ จ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าที่ขดลวดโซเลนอยด์ (ลมจะไม่สามารถไหลผ่านได้หลังจากจ่ายลมเข้าสู่วาล์ว)
หากสนใจต้องการรุ่นไหน สามารถติดต่อสอบถามทีมงาน GFT ได้เลย เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลม วาล์วลม Pneumatic และระบบอัตโนมัติ ตัวแทนจำหน่ายสินค้า AirTAC ถูกและดี มีคุณภาพและการรับประกัน ภายใต้ลิขสิทธิ์จากประเทศไต้หวัน มีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวแมติกส์อีกด้วย
#gft#airtac #airtacGFT #airtacthailand #pneumatic #automation #valve #solenoid #แอร์แทค #นิวแมติกส์ #กระบอกลม #สายลม #ข้อต่อ #โซลินอยด์วาล์ว
สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
- Facebook Airtac Thailand By Gft
- เว็บไซต์ www.GFT.co.th
- LineID : @gftairtac
- โทร. 02-754-4702
บทความที่น่าสนใจ
ความแตกต่างของกระบอกลม ยี่ห้อตลาด vs Airtac
เทียบความต่างกันชัดๆ ระหว่าง กระบอกลม AirTAC VS กระบอกลมยี่ห้อตามท้องตลาด จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ AirTAC ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ชั้นนำของโลก
Read Moreเช็คกันสักนิด 5 ข้อหลักๆ ที่ควรรู้ก่อนเลือก Pressure Gauge มาใช้งาน
เช็คกันสักนิด 5 ข้อหลักๆ ที่ควรรู้ก่อนเลือก เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge มาใช้งานได้เหมาะสม และทำให้การใช้งานอุปกรณ์มีประสิทธิภาพสูงสุด
Read Moreวิธีใช้งานฟิตติ้งลม (Fitting) ข้อต่อลม
ฟิตติ้ง (Fitting) หรือข้อต่อลม คืออะไร เป็นข้อต่อสำหรับเสียบสายลมในอุปกรณ์นิวเมติกส์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ลมเป็นตัวควบคุมการทำงาน
Read More