ระบบนิวเมติกส์

ทำไมระบบนิวเมติกส์ Pneumatic จึงนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

ระบบนิวเมติกส์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบลม” คือ ระบบที่ใช้อากาศอัด และส่งไปตามท่อลม ที่ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร เพื่อทำให้เกิดพลังงานกลในการทำงานสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น วาล์วลม กระบอกสูบลม ชุดกรองลม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบพื้นฐาน ระบบนิวเมติกส์

Pneumatic ในปัจจุบันนั้นมีการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่ระบบกระบอกสูบลม มอเตอร์ลมอย่างง่าย ไปจนถึงการทำงานในเครื่องจักรขนาดใหญ่ ประกอบกับระบบ Automation เพื่อการทำงานแบบอัตโนมัติ  

ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และได้พัฒนามาใช้ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อความรวดเร็วและลดความผิดพลาดในกระบวนการผลิต สามารถเพิ่มระยะเวลาทำงานและลดต้นทุนส่วนแรงงานได้มาก

Table of Content

Pneumatic AirTAC

ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในโรงงานอุตสาหกรรม มีระบบต่างๆ ประกอบกันขึ้นมาเพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับส่วนต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในสายการผลิต ซึ่งระบบนิวเมติกส์เป็นอีกระบบหนึ่งที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย เนื่องจากระบบนิวเมติกส์นั้นมีข้อดีอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเพื่อใช้งานที่ง่าย มีราคาถูก ซ่อมแซมได้ง่ายสะดวก หากเกิดกรณีที่อุปกรณ์แต่ละตัวชำรุด สามารถซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนใช้งานทดแทนได้ อีกทั้งยังดูแลรักษาได้ง่าย เหตุผลส่วนหนึ่งที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นิยมนำไปใช้ในส่วนของการประกอบของสายการผลิต สามารถแบ่งหัวข้อได้ดังนี้

  • ด้านความปลอดภัย ระบบนิวเมติกส์เป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ทำให้ไม่มีการระเบิดหรือติดไฟลุกไหม้ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายจากอัคคีภัย จึงประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการป้องกันความปลอดภัย
  • ด้านความเร็วในการทำงาน โดยปกติความเร็วในการทำงานของระบบนิวเมติกส์อยู่ที่ 1-2 เมตรต่อวินาที [m/s] แต่ถ้าต้องการความเร็วในการใช้งานที่สูงมากกว่านี้ สามารถใช้กระบอกสูบนิวเมติกส์ชนิดพิเศษ ซึ่งทำความเร็วได้สูงถึง 10 เมตรต่อวินาที และเพิ่มรอบการทำงานด้วยอุปกรณ์ควบคุมความเร็วได้สูงถึง 800 รอบต่อนาที [rpm]
  • ด้านความสะอาด เนื่องจากลมที่เป็นตัวกลางในการทำงานของระบบนิวเมติกส์เป็นสิ่งที่สะอาด เพราะมีชุดปรับปรุงคุณภาพลมก่อนนำไปใช้งาน ทำให้สิ่งที่เหลือหรือถูกระบายออกจากระบบที่เกินจากความจำเป็นของระบบ เป็นสิ่งที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
  • ความง่ายในการนำมาประยุกต์ใช้กับงาน โรงงานอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มหรือลด และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันในระบบได้ง่าย เช่น ปรับระยะก้านสูบ ขนาดกระบอกสูบนิวเมติกส์ เพิ่มหรือลดความดันลม ให้มีค่ามากน้อยได้ตามต้องการโดยใช้อุปกรณ์ควบคุมความดัน
  • ความเหมาะสมในการทำงาน ระบบนิวเมติกส์นั้นเป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ดังนั้นจึงสามารถทำงานได้ที่ระดับความแตกต่างของอุณหภูมิ

ระบบนิวเมติกส์ในวงการอุตสาหกรรม ในบ้านเราที่พอได้เห็นมีดังนี้ คือ

  • โรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องวัดต่างๆ
  • โรงงานอุตสาหกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง งานโยธา
  • โรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับงานขนถ่าย ขนส่ง โลจิสติกส์
  • โรงงานอุตสาหกรรมด้านการผลิต เช่น โรงงานบรรจุภัณฑ์ โรงงานอาหารสัตว์ สิ่งทอ อาหาร และอื่น ๆ 
  • โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ รถไฟ 
  • อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์
Details,From,An,Automated,Industrial,Plant,In,The,Field,Of

ระบบนิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม 

จะแบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงาน ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันการพัฒนาและเทคโนโลยีของอุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีมากกว่าในอดีต แต่หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ยังคงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม เราจะมาทำความเข้าใจถึงหน้าที่เกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเมติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

  1. อุปกรณ์ต้นกำลัง (Power unit)

ทำหน้าที่สร้างลมอัดที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์ ประกอบด้วย

  • อุปกรณ์ขับ (Driving unit) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดลม ได้แก่ เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
  • เครื่องอัดลม (Air compressor) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
  • เครื่องระบายความร้อน (After cooler) ทำหน้าที่หล่อเย็นอากาศอัดให้เย็นตัวลง
  • ตัวกรองลมหลัก (Main line air filter) ทำหน้าที่กรองลมก่อนที่จะนำไปใช้งาน
  • ถังเก็บลม (Air receiver) เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บลมที่ได้จากเครื่องอัดลม และจ่ายลมความดันคงที่สม่ำเสมอให้แก่ระบบนิวเมติกส์ ถังเก็บลมจะต้องมีลิ้นระบายความดัน เพื่อระบายความดันที่เกินสู่บรรยากาศ เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อความดันสูงกว่าปกติ ในส่วนของสวิตช์ควบคุมความดัน จะใช้ควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเครื่องอัดลมเมื่อความดันของลมสูงถึงค่าที่ตั้งไว้
  • เครื่องกำจัดความชื้น (Seperator) อุปกรณ์นี้จะช่วยแยกเอาความชื้นและละอองน้ำมันที่แฝงมากับอากาศอัด ก่อนที่อากาศอัดจะถูกนำไปใช้งาน ในบางครั้งเรียกอุปกรณ์นี้ว่าเครื่องทำลมแห้ง
  1. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพลมอัด (Compressed air Treatment component) 

ส่วนนี้จะทำให้ลมปราศจากฝุ่นละออง, คราบน้ำมันและน้ำมันก่อนที่จะนำไปใช้ในระบบนิวเมติกส์ ประกอบด้วย

  • กรองลม (Air filter)
  • วาล์วปรับความดันพร้อมเกจ (Pressure regulator )
  • อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator )

   3. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Controlling component) 

คือ วาล์วควบคุมชนิดต่างๆ ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเริ่มและหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลม ควบคุมอัตราการไหลของลม และควบคุมความดัน

   4. อุปกรณ์การทำงาน (Actuator or working component) อุปกรณ์การทำงาน ทำหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังกล เช่น กระบอกสูบลมชนิดต่าง ๆ เช่น กระบอกสูบทางเดียว (double-acting cylinders) หรือกระบอกสูบชนิดมีตัวกันกระแทก (cushioned cylinders) หรือมอเตอร์ลม เป็นต้น โดยมีลักษณะและรูปลักษณ์แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับงานนั้น ๆ การทำงานเชิงกลก็จะแตกต่างกันออกไปเช่นกัน  

   5. อุปกรณ์ในระบบท่อทาง (Piping system) อุปกรณ์ในระบบท่อทาง ใช้เป็นท่อทางไหลของลมในระบบนิวเมติกส์ ระบบท่อนี้รวมถึงท่อส่งลมอัดและข้อต่อชนิดต่าง ๆ ด้วย

ข้อควรระวังในการใช้ระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม

  • การทำงานของระบบนิวเมติกส์มักจะมีเสียงดังกวนพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เพราะต้องมีการระบายลมทิ้ง ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีที่เก็บเสียง
  • ในโรงงานอุตสาหกรรมบางครั้งมีการเพิ่มอุปกรณ์นิวเมติกส์เข้ามาในวงจรโดย ไม่คำนึงถึงความสามารถหรือข้อจำกัดของอุปกรณ์นิวเมติกส์ หากมีการเพิ่มอุปกณ์นิวเมติกส์เข้าไปในระบบ เพื่อทำการขยายพื้นที่ในการผลิต ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการสร้างปริมาณลมของเครื่องอัดลม (Air Compressor) ว่ามีกำลังพอหรือไม่ ไม่อย่างนั้นความแม่นยำในการควบคุมจะลดลง
  • ข้อจำกัดของอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์ จะสามารถปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานต่างๆ ได้ง่าย แต่อุปกรณ์บางชนิดก็มีข้อจำกัดในการผลิต และติดตั้งเช่นกัน เช่น กระบอกสูบ หากต้องการแรงที่ส่งจากอุปกรณ์มาก ขนาดของกระบอกสูบก็จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งในบางกรณีนั้น ไม่สามารถติดตั้งในพื้นที่ที่จำกัดได้
  • แม้ว่าระบบนิวเมติกส์จะสามารถทำงานได้ในสภาวะอุณหภูมิที่ต่างกัน แต่เมื่ออุณหภูมิในพื้นที่ หรือโรงงานเปลี่ยนแปลง ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความดันในระบบ คือ เมื่ออุณหภูมิในพื้นที่สูง ความดันในระบบก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งการลดต่ำลงของความดัน จะทำให้ระบบเกิดหยดน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความชื้นในระบบ

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจอุตสาหกรรม ได้รับประโยชน์อย่างมากจากอุปกรณ์นิวเมติกส์  อุปกรณ์เหล่านี้มีให้เลือกใช้อยู่หลายแบบหลายยี่ห้อ สำหรับท่านใดที่กำลังต้องการเลือกซื้อ >> อุปกรณ์ระบบลมนิวเมติกส์ << ทาง GFT มีจำหน่าย ถูกและดี มีคุณภาพและการรับประกัน ภายใต้ลิขสิทธิ์จาก AirTAC ประเทศไต้หวัน และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

บทความที่น่าสนใจ

ระบบนิวเมติกส์

ทำไมระบบนิวเมติกส์ Pneumatic จึงนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

ะบบนิวเมติกส์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบลม” คือ ระบบที่ใช้อากาศอัด และส่งไปตามท่อลม ที่ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร

Read More

ความแตกต่างของกระบอกลม ยี่ห้อตลาด vs Airtac

เทียบความต่างกันชัดๆ ระหว่าง กระบอกลม AirTAC VS กระบอกลมยี่ห้อตามท้องตลาด จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ AirTAC ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ชั้นนำของโลก

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save