โซลินอยด์วาล์ว

โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) คืออะไร?

โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) คือ

วาล์วที่ใช้ควบคุมทิศทางลมอัดโดยใช้ไฟฟ้า ให้อุปกรณ์นิวเมติกส์เคลื่อนที่ตามทิศทางที่ต้องการ ซึ่งโซลินอยด์ คือ อุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ทําหน้าที่เปิดปิดวาล์ว เพื่อให้ น้ำ, อากาศ, ก๊าซ ฯลฯ ไหลผ่าน โดยภายในโซลินอยด์จะประกอบด้วย ขดลวดที่พันอยู่รอบๆ แท่งเหล็ก โดยมีแท่งเหล็กทั้งหมด 2 ชุดคือ แท่งเหล็กชุดบน และแท่งเหล็กชุดล่าง โดยเมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจะดูดเดือยวาล์วเพื่อเปิดวาล์ว และเมื่อปิดสวิตช์ตัดกระแสไฟฟ้าเดือยวาล์วจะกลับไปสู่ตําแหน่งเดิม โดยน้ำหนักของตัวเองเพื่อปิดวาล์ว อาทิ โซลินอยด์วาล์วน้ำ ,โซลินอยด์วาล์วแก๊ส ,โซลินอยด์วาล์วไฮดรอลิค ,โซลินอยด์วาล์วลม

โซลินอยด์วาล์ว

โซลินอยด์วาล์วโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 

1. Single Solenoid Valve คือ การปรับตำแหน่งวาล์วด้วยโซลินอยด์วาล์วกลับด้วยสปริง

2. Double Solenoid Valve คือ การปรับตำแหน่งวาล์วด้วยโซลินอยด์วาล์วกลับด้วยโซลินอยด์วาล์ว

สามารถเลือกการใช้งานของคอยล์ได้ มี 2 ชนิด คือ มีสาย เทอร์มินอล และ แบบจุดต่อร่วม Grommet วาล์วลมต่างๆที่ใช้ในระบบนั้นมีหลายแบบขึ้นอยู่กับการใช้งาน แรงดันไฟฟ้าของโซลินอยด์ ที่ให้เลือกตั้งแต่

-AC 220V

-DC 4V

-AC 110V

-AC 24V

-DC 12V

solenoid valve AirTAC

โซลินอยด์วาล์ว ของ AirTAC ถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์กับงานในอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดกลางถึงใหญ่ ทั้งในวงการอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้าน เช่น กระบวนการผลิตต่างๆ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับของเหลวและก๊าซ อย่างเช่นในอุตสาหกรรมบำบัดน้ำ, อุตสาหกรรมอาหารและยา, อุตสาหกรรมสิ่งทอ, ในเครื่องปรับอากาศ, ตู้เย็น, เครื่องชงกาแฟ และรถยนต์ เป็นต้น

การทำงานของตัวเครื่องจะมีความยืดหยุ่นและความแม่นยำในการทำงานที่สูง อายุการใช้งานคงทนยาวนาน และมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน 

Solenoid Valve (โซลินอยด์วาล์ว)

วาล์วที่ควบคุมทิศทางลมแบบ 2/2 ทาง โดยการสั่งงานด้วยขดลวดไฟฟ้า โซลินอยด์ (Solenoid) Directional Control Valve คือ วาล์วที่ควบคุมทิศทางลม โดยการสั่งงานด้วยแรงลมหรือไฟฟ้า แบบ3/2, 4/2, 5/2, 5/3 ทาง เป็นต้น 

โซลินอยด์วาล์ว (Pneumatic Solenoid Valve) วาล์วควบคุมทิศทางลมโดยการสั่งงานด้วยคอยล์ไฟฟ้า ร่วมกับสปริง หรือคอยล์ไฟฟ้า วาล์วน้ำไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ ปิด-เปิด ท่อน้ำ,แก๊ส,น้ำมัน เมื่อจ่ายไฟให้อุปกรณ์นี้ มีทั้งแบบวาล์พลาสติก วาล์วทองเหลืองขนาดต่างๆ 1/4,3/8,1/2,3/4,1,1.5,2 นิ้ว ทั้ง Normally Open (NO) และ Normally Close (NC) มีให้เลือกใช้งานกับ น้ำ,น้ำมัน,แก๊ส และสารเคมี

โซลินอยด์วาล์วลม

วาล์วควบคุมทิศทางลมด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถควบคุมทิศทางลมได้ตามต้องการ มีหลายแบบให้เลือกเช่น  2/2 , 3/2 , 5/2 way และ  มีทั้งแบบ  N/O ( Normal Open) , N/C  (Normal Close) สั่งการร่วมกับสปริงหรือคอยล์ไฟฟ้าอีกตัวเมื่อต้องการให้วาล์วอยู่ อีกตําแหน่ง โซลินอยด์วาล์ว ประกอบด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าสําหรับทําหน้าที่ปิดเปิดวาล์วเมื่อเปิดและปิดสวิตช์ เมื่อกระแสไหลผ่านขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจะดูดเดือยวาล์วเพื่อเปิดวาล์ว และเมื่อปิดสวิตช์ตัดกระแสไฟฟ้าเดือยวาล์วจะกลับไปสู่ตําแหน่งเดิม Solenoid Valve 2 ทาง ใช้กับงานลม, แก๊สทั่วไป, น้ำ, น้ำมัน

โซลินอยด์วาล์วน้ำ 

อุปกรณ์วาล์วแบบต่างๆ ใช้กับระบบน้ำ และเครื่องกรองน้ำ วาล์วหัวถังแรงดัน วาล์วควบคุมถังกรองน้ำทำงานคล้ายกับรีเลย์ (Relay) ภายในโครงสร้างของโซลินอยด์จะประกอบด้วยขดลวดที่พันอยู่รอบแท่งเหล็กที่ภายในประกอบด้วยแม่เหล็กชุดบนกับชุดล่าง เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่พันรอบแท่งเหล็ก ทำให้แท่งเหล็กชุดล่างมีอำนาจแม่เหล็กดึงแท่งเหล็กชุดบนลงมาสัมผัสกันทำให้ครบวงจรทำงาน เมื่อวงจรถูกตัดกระแสไฟฟ้าทำให้แท่งเหล็กส่วนล่างหมดอำนาจแม่เหล็ก สปริงก็จะดันแท่งเหล็กส่วนบนกลับสู่ตำแหน่งปกติยกตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น ในโรงเรือน ในฟาร์ม ระบบรดน้ำที่ต้องการจ่ายน้ำหลายๆจุด แบ่งเป็นโซนๆ หลายๆ โซน โดยต่อกับระบบ Control มี Pressure Switch หรือ Timer เป็นตัวสั่งงานให้ Solenoid Valve ทำงาน เป็นต้น

ชนิดของวาล์วไฟฟ้า

ชนิดของวาล์วไฟฟ้าจะเขียนเป็นตัวเลข มีหลายรูปแบบ 2/2, 3/2, 4/2, 5/2, และ 5/3 ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวนั้นจะมีความหมายที่แตกต่างกัน

  • ตัวเลขตัวแรก หมายถึง จำนวนทางเข้าออกของวาล์ว เป็นการระบุว่าวาล์วนั้นๆ มีจำนวนทางเช้าออกหรือมีกี่รู (port)
  • ตัวเลขตัวที่สอง หมายถึง จำนวนสถานะหรือจำนวนตำแหน่ง (position) ของวาล์ว

เช่น วาล์ว 2/2 นั้น หมายความว่า วาล์วตัวนี้ มีทางเข้าออก 2 ทาง และมี 2 สถานะ คือปิดและเปิด ส่วนวาล์ว 5/2 คือวาล์วที่มีทางเข้าออก 5 ทาง และมี 2 สถานะ เป็นต้น 

Solenoid Valve gft

หลักการทำงานของโซลินอยด์วาล์ว

แต่ละแบบนั้น โดยทั่วไปมีการควบคุมการทำงาน 3 ระบบ คือ

1. ระบบเปิดปิดโดยตรง (Direct acting)

คือระบบเปิดปิดโดยตรงโซลินอยด์วาล์ว 2 ทาง ที่มีระบบการทำงานแบบเปิดปิดโดยตรงนั้น  จะมีทางเข้าและทางออกหนึ่งทาง ซึ่งมีซีลอยู่ปลายด้านล่างทำหน้าที่เปิดและปิด รูทางผ่าน (orifice) ของของไหลเมื่อจ่ายไฟฟ้าเข้า หรือ ตัดไฟฟ้าออกจากคอยล์

ข้อควรระวังในการใช้วาล์วที่ทำงานด้วยระบบนี้คือ

เมื่อมีการเพิ่มความดัน (pressure) ของของไหลในระบบจะทำให้ ต้องใช้แรงมากขึ้นในการเปิดวาล์ว หากความดันของของไหลสูงกว่าที่กำลังของคอยล์จะเปิดวาล์วได้ วาล์วนั้นก็จะไม่ทำงานถึงแม้จะมีการจ่ายไฟฟ้าแล้วก็ตาม

2. ระบบเปิดปิดทางอ้อม (Pilot control)

ระบบการทำงาน วาล์วเปิด-ปิดโดยอาศัยหลักการความต่างของความดัน คือมีการจ่ายไฟเข้าคอยล์เพื่อให้ Plunger ยก Pilot Seal ขึ้นทำให้ของเหลวที่อยู่ด้านบนของแผ่นไดอะแฟรมไหลผ่านซึ่งจะทำให้ความดันด้านบนแผ่นไดอะแฟรมลดลงต่ำกว่าความดันของของไหลที่ไหลเข้ามา จึงทำให้แผ่นไดอะแฟรมยกขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดการเปิดของวาล์ว

3. ระบบลูกผสม (Combined Operation)

ระบบการทำงานแบบลูกผสมนั้น จะมีทางเข้าและทางออกหนึ่งทาง การเปิดรูผ่านหลัก (orifice) ซึ่งอยู่ภายในตัววาล์วนั้น เป็นการผสมผสานทั้งการทำให้ความดันของพื้นที่ด้านบนและ ด้านล่างของแผ่นไดอะแฟรมเสียสมดุลบวกกับแรงที่ทุ่น (plunger) ของโซลินอยด์วาล์วช่วยออกแรงยกแผ่นไดอะแฟรมโดยตรงด้วย การทำงานหลักๆของแผ่นไดอะแฟรมก็เหมือนกับระบบ เปิดปิดทางอ้อมจะต่างก็ตรงที่ว่าแม้จะมีความดันขาเข้าเพียงน้อยนิดวาล์วก็สามารถเปิดได้ด้วยแรงยกของทุ่น (plunger)

ข้อควรระวังในการติดตั้งโซลินอยด์

ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆของโซลินอยด์วาล์วให้ละเอียดดังต่อไปนี้

  • ชนิดของของเหลว หรือตัวกลางที่ไหลผ่านวาล์ว
  • อุณหภูมิของของเหลวหรือตัวกลางที่ไหลผ่านวาล์ว
  • แรงดันไฟฟ้าที่ใช้
  • วัสดุและชิ้นส่วนต่างๆของวาล์ว เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่
  • ทำความสะอาด ฝุ่น,สนิม ตะกอนที่เกิดจากการเชื่อมในท่อด้วยน้ำยาเคมี หรือของเหลวที่มี ความดันสูง
  • ติดตัวกรอง (Y-Strainer) ก่อนเข้าตัววาล์วและติดตั้งเกทวาล์วบายพาสไว้ เพื่อความสะอาด ในการซ่อมบำรุง และการดูแลรักษา
  • ถ้าระดับแรงดันไฟฟ้าสูง หรือต่ำควรใช้ตัวควบคุมกำลังไฟ
  • ห้ามใช้โซลินอยด์วาล์วในระบบที่ของไหลมีความร้อนสูงกว่าที่กำหนดหรือมี การเย็นตัวลง จนกลายเป็นของแข็ง หรือมีส่วนที่ไม่ละลาย
  • ไม่ควรใช้งานโซลินอยด์วาล์ว ทำงานเปิด-ปิด แบบถี่ๆอย่างต่อเนื่อง เพราะจะทำให้เกิดความ เสียหายได้ง่าย

สรุป

นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทได้ตามการใช้งาน เช่น โซลินอยด์วาล์วน้ำ, โซลินอยด์วาล์วแก๊ส, โซลินอยด์วาล์วไฮดรอลิค, โซลินอยด์วาล์วลม

แล้วเราควรเลือกใช้วาล์วแบบไหน? ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการออกแบบวงจรนิวเมติกส์ 

*ควรศึกษาข้อมูลลักษณะงานที่จะนำวาล์วมาใช้ก่อน เช่นลักษณะ คุณสมบัติของวาล์ว แรงดันของระบบลมหรือน้ำ และของเหลวต่างๆ ที่ต้องการมาใช้กับวาล์ว เพื่อให้ได้การทำงานที่ถูกต้องและครบถ้วน 

*ควรเลือกขนาดวาล์วตาม port size เพื่อให้ได้ปริมาณลมและความเร็วในการใช้งานตามที่ต้องการ >> โซลินอยด์วาล์ว ของ AirTAC << มีสเปกให้เลือกหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น 

GFT ยินดีให้คำปรึกษากับลูกค้าทั้งในด้านข้อมูลทางเทคนิคและรับออกแบบโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ 

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง 

บทความที่น่าสนใจ

วาล์วควบคุมทิศทาง

วาล์วควบคุมทิศทางมีกี่ประเภท แต่ละประเภทใช้งานอย่างไร

วาล์วเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหลายๆประเภท ซึ่งวาล์วที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้เป็นอุปกรณ์ในลักษณะที่ใช้เกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนที่เพื่อควบคุมทิศทางจึงเรียกว่าวาล์วควบคุมทิศทางนั่นเอง 

Read More
ระบบนิวเมติกส์

ทำไมระบบนิวเมติกส์ Pneumatic จึงนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

ะบบนิวเมติกส์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบลม” คือ ระบบที่ใช้อากาศอัด และส่งไปตามท่อลม ที่ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร

Read More
นิวเมติกส์

ความแตกต่างระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก แท้จริงแล้วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้ง 2ชนิดนี้ใช้การเคลื่อนไหวประเภทเดียวกัน และใช้ของเหลวในการส่งพลังงานเชิงกล

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save