รู้ก่อนดีกว่า..กับข้อควรระวังต่างๆในการติดตั้งกระบอกลม Air Cylinder
ก่อนที่เราจะติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์นั้น เราจะต้องรู้ข้อระวังต่างๆในการติดตั้งกระบอกลม Air Cylinder กันก่อนดีกว่า ว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้างเพื่อให้กระบอกลมนิวเมติกส์ที่ติดตั้งไปนั้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะอายุการใช้งานของกระบอกลมเบื้องต้นนั้น จะสามารถใช้งานได้ยาวนานหรือไม่ การติดตั้งกระบอกลมที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญ คือ ก้านสูบต้องไม่ถูกแรงที่มีทิศทางที่ งัดลูกสูบ-โอริง-กระบอกลมซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหาย หรืออายุการใช้งานสั้นลง
ในการติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์ คือจุดศูนย์กลางของแกนลูกสูบกระบอกลมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกับการเคลื่อนที่ของชิ้นงาน/โหลด (Load) เพื่อไม่ให้มีแรงงัดต่อก้านสูบ ลูกสูบโอริง และฝาด้านในของกระบอกลมนิวเมติกส์ โดยจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้
อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วมในการติดตั้งกระบอกลมกับเครื่องจักร (Accessories for installing Air Cylinder to Machine)
อุปกรณ์ต่อใช้ร่วมกับการติดตั้งใช้งานกระบอกลม (Air Cylinder) มี 3 ชนิด คือ
- ตัวติดยึด (Bracket) กับกระบอกลมกับเครื่องจักรหรือสิ่งยึดติดอื่นๆ
- จอยหรือข้อเกี่ยว (Joint or Knuckle) ใช้ยึดระหว่างปลายก้านสูบกับชิ้นส่วนของเครื่องจักร
- สวิทช์เซนเซอร์ (Sensor Switch) อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วมหรือตัวยึด (Bracket) สำหรับติดยึดตัวกระบอกลมใช้เพื่อให้ตัวกระบอกลมยึดติดส่วนที่แข็งแรงของเครื่องจักร
วิธีเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วม
อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วมในการติดยึดตัวกระบอกลม ไม่ว่าจะเป็นแบบยึดติดกับพื้น หรือเป็นแบบหน้าแปลนแบบยึดติดฝาประกับหน้า/หลัง ฯลฯ
- ต้องเลือกใช้ให้ถูกรุ่นของกระบอกลม เช่น กระบอกลมแบบมีฝาประกับหน้า/หลัง กระบอกลมโปรไฟล์ (Profile Air Cylinder) กระบอกลมแบบคอมแพ็ค (Compact Air Cylinder) แบบกระบอกลมมินิ ฯลฯ เพราะตัวยึดติด (Bracket) อาจจะใช้ติดตั้งแทนกันไม่ได้
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกลม เพราะตัวยึดสำหรับกระบอกลมจะมีขนาดแตกต่างตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกด้วย
- จะยึดติดตายหรือยึดติดแบบให้โยกเอียงได้
ตัวอย่างที่ 1 แนวการติดตั้งกระบอกกระบอกลม Air Cylinder ต้องอยู่แนวเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของโหลดและขนานกับระดับพื้นเสมอ
ตัวอย่างที่ 2 น้ำหนักชิ้นงานที่ปลายก้านกระบอกลมจะงัดก้านลูกสูบ ฯลฯ จึงควรมีรอลเลอร์ มารับน้ำหนักชิ้นงานตามรูป
ตัวอย่างที่ 3 หากแกนกระบอกยาวจะทำให้เกิดแรงบิดมาก ควรทำไกด์มารับแรงบิดแทน
ตัวอย่างที่ 4 การติดตั้งให้ตัวยึดกระบอกลมอยู่ไกลจะทำให้เกิดแรงบิดมากเกิน ควรย้ายตัวยึดกระบอกลมมาที่โคนของกระบอกลม จะลดแรงบิดได้มาก
ตัวอย่างที่ 7 หากจำเป็นต้องติดตั้งตัวยึดที่กลางกระบอกควรให้ความสูง H น้อยที่สุด เพราะยิ่งสูงมาก จะมีแรงบิดที่สกรูที่ยึดตัวพื้นมากขึ้นตามไปด้วย
ตัวอย่างที่ 8 วิธีการติดตั้งตัวยึดหน้าแปลนต้องเลือกว่าจะให้ตัวยึดอยู่ตำแหน่งไหนของแกน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าโหลดเป็นแบบดันหรือดึงก้านสูบ
สรุป
หากสนใจกระบอกลมในแบบต่างๆ สามารถสอบถาม ที่นิยมใช้กัน ชนิดของ Air Cylinder ยังมีอีกหลายแบบ ซึ่งหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามกับทาง GFT ได้ ทางเรามีผู้เชี่ยวชาญยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า อุปกรณ์ Pneumatic ทุกชนิดที่ลูกค้าต้องการ
แหล่งข้อมูลเว็บไซต์ : pneu-hyd.co.th , ThaiA.net
สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
- Facebook Airtac Thailand By Gft
- เว็บไซต์ www.GFT.co.th
- LineID : @gftairtac
- โทร. 02-754-4702
บทความที่น่าสนใจ
รู้ก่อนซื้อ เลือกรุ่นโซลินอยด์วาล์ว Solenoid Valve อย่างไร ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
รู้ก่อนซื้อ…โซลินอยด์ที่คุณต้องการใช้ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม วันนี้แอดมินมีข้อมูลดีๆ มาแชร์ เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้
Read Moreความแตกต่างของกระบอกลม ยี่ห้อตลาด vs Airtac
เทียบความต่างกันชัดๆ ระหว่าง กระบอกลม AirTAC VS กระบอกลมยี่ห้อตามท้องตลาด จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ AirTAC ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ชั้นนำของโลก
Read Moreโซลินอยด์วาล์วแต่ละแบบเหมาะกับงานประเภทใดบ้าง ?
โซลินอยด์วาล์ว คือ วาล์วที่ควบคุมทิศทางลม โดยใช้คอยล์ไฟสั่งการ ทำงานร่วมกับสปริงหรือคอยล์อีกตัวนึง เมื่อต้องการให้วาล์วอยู่ไปอยู่อีกตําแหน่ง
Read More