ระบบนิวเมติกส์

เทคนิคการดูแลรักษาระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เทคนิคการดูแลรักษาระบบนิวเมติกส์

     ให้มีประสิทธิภาพนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบัน ระบบนิวเมติกส์ ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งหากใช้งานไปนานๆ ก็ต้องมีการดูแลรักษา เพื่อให้ระบบยังคงสามารถทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพและใช้งานต่อไปได้นานๆ

     เพราะหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำอุปกรณ์นิวเมติกส์ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานที่สั้นลง การดูแลรักษาอย่างถูกวิธีจะทําให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

     เราสามารถดำเนินการดูแลรักษาระบบนิวเมติกส์ได้ตามขั้นตอนในเบื้องต้น โดยสามารถหาได้จากเอกสารคำอธิบายที่ผู้จัดจำหน่าย หรือตัวแทนจำหน่ายได้จัดเตรียมมาให้พร้อมกับสินค้า จะมีรายละเอียดพร้อมข้อควรระวังอยู่ด้วย หรือปรึกษาสอบถามกับทาง GFT ของเรา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเมติกส์ ให้ความสำคัญกับการดูแลและให้บริการลูกค้าด้วยความเป็นมืออาชีพ

     นิวเมติกส์ หมายถึง ระบบที่ใช้อากาศอัดส่งไปตามท่อลมเพื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังงานกล โดยเฉพาะในโรงงานที่ต้องนำอากาศอัดไปใช้เป็นจำนวนมาก ในระหว่างการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระบบ ควรปฏิบัติดังนี้

ข้อควรระวังเมื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์

  1. ต้องมั่นใจว่าทำการปิดระบบและถ่ายลมอัดออกจากระบบจนหมดก่อนดำเนินการถอมท่อลมอัดหรือข้อต่อ
  2. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ทำงานทุกชนิด เช่น กระบอกลม อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการกระแทกและก่อให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหาย
  3. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ข้อต่อ และสายลมอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ
  4. ควรระมัดระวังการทำงานของกระบอกลม ขณะกำลังเคลื่อนที่ออกหรือเข้าจนเกือบสุดระยะชักแล้ว เพราะถ้ายังไม่หยุดนิ่งก็ยังอาจเป็นอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้
  5. อย่าคิดว่ากระบอกลมจะมีความเร็วที่สม่ำเสมอตลอดเวลา คงไม่เป็นปัญหา
  6. อย่าคิดว่าขั้นตอนการทำงาน (Sequence) จะทำซ้ำเหมือนเดิมทุกครั้งไป

ในกรณีทีมีการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระหว่างการทำงานโดยใช้ปุ่มสัญญาณฉุกเฉินหยุดเครื่องจักรควรคำนึงถึงความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  1. กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงของชิ้นงาน
  2. กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ เมื่อมีการถอดสายลมสัญญาณ
  3. การทำงานหยุดชั่วขณะอันเป็นผลมาจากการสูญเสียแรงดันลม

การบำรุงรักษาระบบนิวเมติกส์ประจำวัน

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีวงจรที่ถูกต้อง ตลอดจนแผนภาพการทำงานของระบบนิวเมติกส์ และหากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หลังการติดตั้ง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ดำเนินการตามคำแนะนำเรียบร้อยแล้ว
  • ระวังไม่ให้วาล์วอิมพัลส์ของระบบนิวเมติกส์ได้รับสิ่งสกปรก แรงกระแทกทางกล และน้ำหล่อเย็นที่มากเกินไป
  • ควรใช้ช่องเปิดวาล์วที่ผู้ผลิตกำหนดเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการเจาะหรือติดตั้งองค์ประกอบเพิ่มเติม เมื่อต้องการเปิดระบบใหม่
  • หากคุณต้องการช่องเปิดเพิ่มเติม ให้ปรึกษากับผู้ผลิต และให้พวกเขาออกแบบระบบให้สำหรับคุณโดยเฉพาะ
  • หน่วยบริการ (Service unit) ของระบบควรมองเห็นได้ชัดเจนและง่ายต่อการบำรุงรักษา ถ้าเป็นไปได้ก็ควรวางให้สูงกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ
  • อย่าเพิ่มคันเร่งเกินที่กว่าผู้ผลิตกำหนดไว้
  • หากคุณกำลังถอดกระบอกสูบหรือวาล์ว ให้ดูแลวัสดุปิดผนึกด้วย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้วางตำแหน่งไว้อย่างเหมาะสมแม้ในขณะที่ประกอบอีกครั้ง
  • วาล์วกระตุ้นแม้จะดูเหมือนใช้งานง่าย แต่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะควบคุมทิศทางที่ถูกต้องและด้วยความเร็วที่ต้องการเท่านั้น

การดูแลรักษาระบบนิวเมติกส์

ในระบบนิวเมติกส์ที่ใช้เครื่องอัดลมจ่ายพลังงานลมอัด ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือเรื่องความชื้นและฝุ่นละอองซึ่งปะปนอยู่ในบรรยากาศ จึงจำเป็นจะต้องกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ออกก่อนนำไปใช้งาน โดยการใช้กรองลมทำความสะอาดลมเพื่อกำจัดฝุ่นละอองและความชื้น สิ่งแปลกปลอมมีผลต่ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ซึ่งจะมีอายุการใช้งานนานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคุณภาพลมอัดว่ามีคุณภาพดีเพียงใด โดยส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมที่ปนมากับลมอัดมีดังนี้

  1. ความชื้น สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจากลมอัดประกอบด้วยไอน้ำจำนวนมาก เพราะเครื่องอัดลมจะอัดลมจากบรรยากาศ ซึ่งมีค่าความชื้นสูง ค่าความชื้นของอากาศในประเทศไทยโดยทั่วไปมีค่าความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 60% เช่น ถ้าต้องการอัดลม 1 m3 ที่ความดัน 7 kgf/cm2 (ความดันเกจ) จะต้องใช้อากาศที่บรรยากาศถึง 8 m3 ดังนั้ค่าความชื้นจึงมีมากถึง 8 เท่าของบรรยากาศปกติ ส่วนผสมของไอน้ำในอากาศจะไม่คงที่เสมอไป ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วย สำหรับแนวทางแก้ไขในการระบายน้ำที่เกิดจากความชื้น สามารถทำได้โดยใช้เครื่องระบายความร้อนลมอัดเพื่อดักเอาไว้ก่อน ถ้ายังมีความชื้นปนอยู่ก็อาจจะใช้เครื่องทำอากาศแห้งติดตั้งเข้าไปในระบบอีกทีหนึ่ง จะทำให้ความชื้นที่เจือปนไปกับลมอัดมีค่าน้อยมาก  
  1. น้ำมันหล่อลื่นที่ปนไปกับลมอัด สาเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดเนื่องจากการสึกหรอของแหวนลูกสูบของเครื่องอัดลม ซึ่งจะทำให้ละอองน้ำมันหล่อลื่นเล็ดรอดขึ้นมาผสมกับลมอัดภายในกระบอกสูบได้ สาเหตุดังกล่าวมักเกิดขึ้นกับเครื่องอัดลมประเภทลูกสูบ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะใช้กรองลมที่มีขนาดละเอียด 2 ถึง 40 ไมครอนมากรองเพื่อแยกน้ำมันออกจากลมอัดในกรณีที่อุปกรณ์ของระบบนิวเมติกส์ไม่ต้องการน้ำมันหล่อลื่น แต่ถ้าต้องการกรองละเอียดมากอาจจะใช้กรองที่มีความสามารถในการกรอง 0.8 ถึง 0.01 ไมครอนกรองก็ได้ แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ต้องการน้ำมันหล่อลื่นไปหล่อลื่นอุปกรณ์ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้กรองละเอียดมากๆ ก็ได้  
  1. สารออกไซด์ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากคาร์บอนและน้ำมันดิบที่มีอยู่ในน้ำมันหล่อลื่น เมื่อเครื่องอัดอากาศระบบลูกสูบทำงานจะอัดอากาศให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงมีผลทำให้น้ำมันหล่อลื่นเกิดออกไซด์แยกตัวออกมา การแก้ปัญหาดังกล่าวควรเลือกใช้กรองที่มีความสามารถในการกรองได้ละเอียดถึง 0.3 ไมครอนมาใช้ในการกรอง และควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพ และเปลี่ยนตามกำหนดเวลาที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด   
  1. ฝุ่นละออง สาเหตุที่มีฝุ่นละอองมาได้ด้วยกันหลายทาง แต่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าที่มาของฝุ่นละออกมีทีมาอยู่ 2 แหล่งคือ ภายในระบบเอง ซึ่งได้แก่ เศษซีล เศษวัสดุ สนิม เศษของเทปพันท่อ เศษเกลียวสเก็ดเชื่อมที่เกิดขึ้นในระบบการเดินท่อส่งลม และอีกแหล่งมาจากภายนอกซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของโรงงานนั้น ๆ การแก้ไขควรติดตั้งกรองที่มีคุณภาพสูงเข้าไปในระบบท่อส่งลมเมนที่หนึ่งก่อนที่จะนำลมไปผ่านกรองเข้าเครื่องจักร และหมั่นทำความสะอาดกรองทาง  
  1. ข้อบกพร่องที่มาจากการหล่อลื่น ในวาล์วนิวเมติกส์บางแบบยังต้องการการหล่อลื่นอยู่ จึงจำเป็นจะต้องมีการผสมน้ำมันหล่อลื่นไปกับลมอัด ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นนี้ควรจะเป็นน้ำมันไฮดรอลิก ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 3 ไม่ควรให้น้ำมันหล่อลื่นผสมน้อยเกินไปเพราะจะทำให้ชิ้นส่วนที่มีการเสียดสีกันภายในวาล์ว และซีลต่าง ๆ เกิดการสึกหรอได้ แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปก็ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับลมอัดทางท่อทางระบายทิ้ง ทำให้เกิดความสกปรกและอัดตันภายในตัวเก็บเสียงได้ จำนวนน้ำมันที่ผสมมากหรือน้อยได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 3 เช่นกัน

     อุปกรณ์นิวเมติกส์ควรมีการตรวจสอบและดูแลรักษาเป็นประจำเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นได้ภายในระบบได้ สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ และอีกมากมาย อีกทั้งไฮครอลิคที่ตอบโจทย์ในทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงในราคาที่ทุกองค์กรสามารถเข้าถึงได้ และเรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

บทความที่น่าสนใจ

นิวเมติกส์

ความแตกต่างระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก แท้จริงแล้วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้ง 2ชนิดนี้ใช้การเคลื่อนไหวประเภทเดียวกัน และใช้ของเหลวในการส่งพลังงานเชิงกล

Read More

ความแตกต่างของกระบอกลม ยี่ห้อตลาด vs Airtac

เทียบความต่างกันชัดๆ ระหว่าง กระบอกลม AirTAC VS กระบอกลมยี่ห้อตามท้องตลาด จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ AirTAC ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ชั้นนำของโลก

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save