วิธีใช้งานฟิตติ้งลม (Fitting) ข้อต่อลม
เป็นข้อต่อสำหรับเสียบสายลมในอุปกรณ์นิวเมติกส์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ลมเป็นตัวควบคุมการทำงาน ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม ในประเทศไทย เพราะสามารถถอดหรือใส่สายลมได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น ใช้ต่อสายลมเข้ากระบอกลม ใช้ต่อสายลมเข้าโซลินอยด์วาล์ว หรือใช้ส่วนของลมอัดที่ใช้ในโรงงาน เช่น ตัวกรองลม (Filter) ตัวปรับแรงดันลม (regulator) เป็นต้น
นั้นมีหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท เช่น ใช้กับระบบนิวเมติกส์ อุปกรณ์ลม กาพ่นสีรถยนต์ บล็อคลมขันน๊อตล้อ เครื่องพ่นหมอก เครื่องปั๊มลม แอร์บลัชพ่นสี โมเดล งานเดินท่อลมต่างๆ และแบ่งได้ตามชนิดของวัสดุ หรือแบ่งชนิดตามลักษณะการใช้งานเช่น ข้อต่อพลาสติก ข้อต่อสวมเร็ว และข้อต่อโลหะ
จะมีด้านที่ใช้เสียบสายลมซึ่งจะมีหลายหลายขนาดตามสายลมเรียก od เช่น 4 mm. 6 mm. 8 mm. ส่วนอีกด้านจะเป็นเกลียวที่ใช้ต่อเข้ากับอุปกรณ์นิวเมติกส์ ซึ่งอาจจะเป็นเกลียวตัวผู้หรือเป็นเกลียวตัวเมีย มีหลายหลายขนาดเช่น ¼” ½” 3/8”
โดยเกลียวของฟิตติ้งนอกจากจะมีหลายหลายขนาดแล้ว ยังสามารถแบ่งเกลียวได้อีกหลายประเภทขึ้นอยู่กับมาตรฐานว่าเป็นมาตรฐานเกลียวจากประเทศอะไร ซึ่งแต่ละมาตรฐานก็มีความแตกต่างของ รูปแบบ ขนาดความสูงเกลียว และจำนวนเกลียว ชนิดของเกลียวได้แก่
1. เกลียว NPT (National Pipe Thread Taper) (เกลียวสโลพ) เป็นเกลียวมาตรฐานอเมริกา เรามักเรียกตามขนาดเกลียวว่า ½” NPT มีลักษณะเป็นเกลียวเอียง ปลายเกลียวตัด มุมยอดเกลียว 60 องศา มีใช้เยอะในท่อน้ำและท่อก๊าซ
2. เกลียว BSP, BSPP (British Standard Pipe-Parallel) (Straight) (เกลียวตรง) เป็นเกลียวมาตรฐานของอังกฤษ ชื่อรุ่นเช่น G ¾” มีลักษณะเป็นเกลียวตรง ปลายมุมโค้งมน มุมยอดเกลียว 55 องศา
3. เกลียว BSPT (British Standard Pipe-Taper) (เกลียวสโลพ) เป็นเกลียวมาตรฐานอังกฤษ ชื่อรุ่นเช่น R ¼” มีลักษณะเป็นเกลียวเอียง ปลายโค้งมน มุมยอดเกลียว 60 องศา
4. เกลียว PF (JIS Standard Pipe) (Parallel) มาตรฐานญี่ปุ่น ชื่อรุ่นเช่น ½”PF เป็นเกลียวตรง ปลายโค้งมน
5. เกลียว PT (JIS Standard Pipe) (Taper) เป็นเกลียวสโลพ มาตรฐานญี่ปุ่น ชื่อรุ่นเช่น ¼”PT ลักษณะเป็นเกลียวเอียง ปลายโค้งมน มุมยอดเกลียว 55 องศา
6. เกลียว BSW (British Standard Whitworth) เป็นเกลียวมาตรฐานอังกฤษอีกเหมือนกัน ชื่อรุ่นเช่น ¼ “BSW ลักษณะเป็นเกลียวตรง มุมยอดเกลียว 55 องศา
7. เกลียว ISO METRIC เป็นเกลียวมาตรฐานระบบISO (สากล) ชื่อรุ่นเช่น M12 ลักษณะเป็นเกลียวตรง มุมยอดเกลียว 60 องศา
-ต่อแบบ Push Fitting สามารถถอด หรือใส่สายลม ทำง่ายๆเพียงใช้มือกดเพียงครั้งเดียวรวมทั้งถอดทำความสะอาดและประกอบใหม่ได้โดยง่ายเมื่อเฟอามือออก ตัวก้ามล็อคสแตนเลสต้องล็อคท่อได้แน่นทำให้ไม่สามารถขยับได้ โอริงซีลมีคุณภาพดีเพื่อให้ไม่มีลมรั่วออกมาแม้แต่น้อย
-รับแรงดันได้สูง 0~9kg/cm2(อย่างไรก็ตามการทนแรงดันจะขึ้นอยู่กับรุ่นที่เลือกใช้ และคุณภาพของฟิตติ้ง Fitting ตัวก้ามล็อคต้องแข็งแรงจนสายลมไม่สามารถขยับได้)
– เกลียวของข้อต่อทำจากทองเหลืองหรือนิคเกิลเคลือบ หรือ พันด้วยเทปล่อนบนเกลียวมาเรียบร้อยแล้วจึงพร้อมใช้ เพิ่มความทนทาน และป้องกันการรั่วซึมได้ เกลียวมีความยาว เกลียวท่อแบบ PT เกลียวญี่ปุ่น และอังกฤษสามารถขันได้แน่นไม่ว่าเกลียวของประเทศไหน
ซึ่งข้อต่อลมที่ใช้กันอยู่ในงานนิวเมติกส์ ที่เห็นกันทั่วไปตามงานต่างๆ สามารถแบ่งแยกประเภทได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ
- ข้อต่อลม (Fittings) ที่ใช้สำหรับ “ต่อกับอุปกรณ์ลม” ลักษณะเป็นเกลียวที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ลม และอีกด้านจะใช้เชื่อมต่อกับสายลม โดยจะมีรูปแบบต่างๆ ให้เลือกใช้งาน ได้แก่ ข้อต่อตรง ข้อต่องอ ข้อต่อสามทาง และข้อต่อที่มีมากกว่าสามทาง
- ข้อต่อลม (Fittings) ที่ใช้สำหรับ “ต่อกับสายลม” ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับสายลม โดยจะทำให้สายลมมีความยาวขึ้น ซึ่งจะมีตั้งแต่สองทางขึ้นไปเพื่อเพิ่มทิศทางลมให้กระจายไปได้หลายทาง เพื่อให้เหมาะสมกับงาน
1.) ฟิตติ้งสำหรับต่อกับอุปกรณ์ลม (Thread Type One-Touch Fittings ) คือจะเป็นเกลียวอยู่ด้านหนึ่ง จะเป็นตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้ เพื่อขันติดตั้งกับตัวอุปกรณ์ลม อีกด้านหนึ่งก็ใช้สำหรับเสียบกับสายลม ซึ่งจะมีการต่อใช้งานได้หลายรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับการใช้งานในแต่ละประเภท แบ่งได้เป็น
1.1 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมแบบ 2 ทาง ใช้กับงานที่ต้องต่อกับอุปกรณ์ลมโดยตรงในฝั่งที่เป็นเกลียว อีกฝั่งเสียบสายลม 1 ข้าง
– ข้อต่อลมเสียบสายลมแบบตรง หรือ “ข้อต่อตรง”
– ข้อต่อลม เสียบสายลมแบบงอ 90 องศา หรือที่เรียกว่า “ข้อต่องอ” ช่วยปรับเปลี่ยนทิศทางของสายลม
1.2 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมแบบ 3 ทาง ใช้กับงานที่ต้องต่อกับอุปกรณ์ลมในฝั่งที่เป็นเกลียว อีกฝั่งเสียบสายลมแยกออกได้ 2 ข้าง เพื่อให้กระจายลมไปใช้งานพร้อมกันได้ทั้ง 2 ตำแหน่ง
– ข้อต่อลมเสียบสายลม 3 ทาง รูปตัว T (T Connector)
– ข้อต่อลมเสียบสายลม 3 ทาง รูปตัว Y (Y Connector)
– ข้อต่อลมเสียบสายลม 3 ทาง แบบตัวเรียงต่อ (Branch Connector)
1.3 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมหลายทาง คือรูเสียบสายลม มีมากกว่า 3 ทางขึ้นไป ใช้กระจายสายลมไปหลายจุดอย่างทั่วถึง ให้เหมาะสมตามการใช้งาน
– ข้อต่อลมเสียบสายลมหลายทาง ซึ่งได้มีการออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ จะมีทั้งรูปแบบกากบาท (Cross Connector) และแบบตัวเรียงต่อ (Branch Connector)
2.) ฟิตติ้งสำหรับต่อกับสายลม (Tube-Tube Type One-Touch Fittings ) อธิบายได้ง่ายๆ คือหัวที่ใช้ต่อ จะเป็นหัวที่ใช้เสียบสายลมทั้ง 2 ด้าน เพื่อใช้ต่อสายเพิ่มความยาวของสายลม ใช้ลดขนาดของสายลม หรือเพิ่มช่องจ่ายลมให้มากขึ้น ในลักษณะของงานต่างๆ ที่อาจแตกต่างกันไป อาจจำแนกรูปแบบได้ดังนี้
2.1 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลม 2 ด้าน
– ข้อต่อลมเสียบสายลม 2 ด้าน สามารถแบ่งได้เป็น แบบต่อชน ( Union ) กับแบบต่อลดขนาด ( Reducer connector )
– แบบเสียบสาย 2 ด้าน แบบต่อตรง
– แบบเสียบสาย 2 ด้าน แบบข้องอ 90 องศา
2.2 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลม 3 ด้าน
– เสียบสายลมแบบ 3 ด้าน มีทั้งแบบด้านที่เสียบสายลมเข้า-ออก (Union) เท่ากันทั้ง 3 ด้าน และแบบเสียบสายเข้า-ออก ไม่เท่ากัน (Different Union)
– แบบเสียบสาย 3 ด้าน แบบรูปตัว T ( T Union )
– แบบเสียบสาย 3 ด้าน แบบรูปตัว Y ( Y Union )
2.3 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมหลายทาง
– เสียบสายลมมากกว่า 3 ทางขึ้นไป โดยได้มีการออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ จะมีทั้งรูปแบบกากบาท (Cross Union) และแบบตัวเรียงต่อ (Branch Union)
GFT เรามี ข้อต่อลม หลายขนาดหลากหลายรูปแบบ ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของงานนั้นๆ และยังมี “สายลม” แบบต่างๆ ให้เลือกใช้อีกด้วย ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามได้ทันที เรามีบริการจัดส่งรวดเร็ว และตรงตามความต้องการของงานนั้นๆ โดยทาง GFT มีผู้เชี่ยวชาญยินดีให้คำปรึกษาแนะนำในการเลือกข้อต่อลมให้เหมาะสมกับการใช้งานของท่าน
ขอบคุณสำหรับข้อมูลจากเว็บ : somwangsub.co.th
สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
- Facebook Airtac Thailand By Gft
- เว็บไซต์ www.GFT.co.th
- LineID : @gftairtac
- โทร. 02-754-4702
บทความที่น่าสนใจ
“วาล์วหนักเปิด-ปิดยาก เสียเวลา ทำงานยาก เปลืองแรง” ทั้งหมดนี้ หัวขับลมช่วยได้
“วาล์วหนักเปิด-ปิดยาก เสียเวลา ทำงานยาก เปลืองแรง” ทั้งหมดนี้ หัวขับลมช่วยได้ ทำความรู้จักกับหัวขับลม AP Series หัวขับลมคุณภาพ จากแบรนด์ SIRCA
Read Moreชุดกรองลมนิวเมติกส์คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ?
ระบบนิวเมติกส์ (pneumatic system) เป็นระบบที่จะใช้การทำงานแบบส่งอากาศไปตามท่อลม โดยระบบนี้จะเป็นการถ่ายทอดกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังงานกล ซึ่งระบบการเคลื่อนที่ด้วยการอัดอากาศลักษณะนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ปัจจุบัน
Read Moreหลักการทำงานของกระบอกลมนิวแมติกส์
หลักการทำงานของกระบอกลมนิวแมติกส์ หลักการทำงานของกระบอกลมนิวแมติกส์ หรือกระบอกสูบ Air Cylinder, Actuators คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานในรูปแบบความดันลมให้เป็นพลังงานกล
Read More