Q&A GFT มีคำตอบ : เลือก กระบอกลมนิวเมติกส์ เลือกอย่างไร ?

กระบอกลมนิวเมติกส์

คำตอบคือ การเลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ ให้เหมาะสม เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนในเรื่องของข้อมูลต่าง ๆ เราจะต้องคำนวณหาค่าต่างๆ ให้ถูกก่อนว่าประเภทงานของเราเหมาะกับกระบอกลมนิวเมติกส์แบบไหน เนื่องจาก ระบบ Pneumatic มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน และหลายประเภทด้วยกัน ดังนั้น เราจึงควรเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ เราควรพิจารณาปัจจัยในหลายๆ ส่วน ดังนี้

1. ดูงานที่ต้องการกระทำ เช่น ทิศทางการเคลื่อนที่กระบอก น้ำหนักชิ้นงาน เป็นต้น เพื่อเลือกขนาดกระบอกลม (Boresize) และระยะชัก (Stoke) ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการยกกระบอกลมนิวเมติกส์ จะคำนวณจากจุดหนึ่งไปหาอีกจุดหนึ่ง โดยใช้ระยะเวลาในการเคลื่อนที่มากน้อย เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการคำนวณหาขนาดกระบอกลม

  • น้ำหนักของวัตถุที่จะยกหรือดึง(Load) หรือที่มักเรียกกันว่า “น้ำหนักโหลด” ควรมีกระบอกนิวเมติกส์ที่ให้แรงได้มากกว่าโหลด จึงจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยปกติน้ำหนักโหลดจะต้องบวกเผื่อค่าความปลอดภัย(Safety factor) ไว้อย่างน้อย 35% ตัวอย่างเช่น น้ำหนักจริงของวัตถุที่จะยก 100 กิโลกรัม เราจะต้องใช้การคำนวณที่ 100×35% = 135 กิโลกรัม เป็นค่าที่ใช้ในการเลือกกระบอกลม 



  • ความเร็วของงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
  1. ความเร็วต่ำ 4 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมที่ผลิตแรงดันมากกว่า 25% ของโหลด
  2. ความเร็วปานกลาง 4-6 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมที่ผลิตแรงดันมากกว่า 50% ของโหลด
  3. ความเร็วสูง 16 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมที่ผลิตแรงดันมากกว่าของโหลด 2 เท่า



กระบอกลม
  1. แรงดันลมในระบบ ก่อนเข้ากระบอกลม ยิ่งแรงดันมาก จะสามารถยกวัตถุน้ำหนักมากได้

โดยมาตรฐานแล้ว ระบบ Pneumatic ส่วนใหญ่นั้นจะต้องมีการออกแบบและติดตั้งให้มีการจ่ายและไหลของอากาศที่สม่ำเสมอ ถึงแม้ว่าการทำงานจะอยู่ในช่วงที่มีแรงดันต่ำสุดก็ตาม ซึ่งโดยปกติในการคำนวณ จะใช้แรงดันที่ 5 bar เป็นมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต้องตรวจสอบขนาดกระบอกสูบและแรงดันอากาศภายในให้เหมาะสม ไม่ว่าจะกระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็กหรือกระบอกลมนิวเมติกส์มาตรฐาน และแรงดันอากาศภายในให้เหมาะสม หากแรงดันไม่สม่ำเสมออาจส่งผลต่อระบบและอาจเกิดความผิดพลาดเสียหายได้ อีกทั้งการมีแรงดันที่สูงเกินไปก็อาจจะทำให้ซีลยางชำรุดเสียหายได้

 

ดังนั้นเวลาคุณเลือกซื้อกระบอกลม คุณควรตรวจสอบการอัดอากาศของแต่ละรุ่นด้วยว่า เหมาะสมกับการใช้งานของคุณหรือไม่

  1. เลือกประเภทกระบอกลมและลักษณะการติดตั้งที่เหมาะสมกับพื้นที่หน้างาน

สำหรับใครที่กำลังมองหากระบอกลมที่เหมาะกับการใช้งานในโรงงานของคุณ หรือต้องการ กระบอกลมแบบที่สามารถสเปกรายละเอียดเองได้ เรามีบริการผลิตกระบอกลมสั่งทำ สะดวก สามารถปรึกษาวิศวรขายที่ช่วยให้ท่านทำงานได้สะดวกขึ้นและได้สินค้าตรงตามความต้องการ

ประเภทกระบอกลม

สำหรับใครที่กำลังมองหากระบอกลมที่เหมาะกับการใช้งานในโรงงานของคุณ หรือต้องการ กระบอกลมแบบที่สามารถสเปครายละเอียดเองได้ เรามีบริการผลิตกระบอกลมสั่งทำ โดยทีมงานช่างผู้มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี

-งานเพิ่มความยาวแกน

-งานเปลี่ยนเกลียวปลายแกน

-งานกระบอกลมแบบมีก้านสูบสองข้าง

-งานเทียบลงกระบอก standard

-งานกระบอกขนาดพิเศษ

ผ่านกระบวนการตรวจเช็ค คุณภาพ #ตามมาตรฐานสากล ทุกชิ้น ก่อนส่งถึงมือลูกค้า ต้องการแบบไหนสามารถปรึกษาวิศวกรขายที่ช่วยให้ท่านทำงานได้สะดวกขึ้นและได้สินค้าตรงตามความต้องการ

กระบอกลมแบบมีก้านสูบสองข้าง
งานเพิ่มความยาวแกน
กระบอกลมขนาดพิเศษ

สรุป

 

หากเราเลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจจะทำให้การทำงานของเครื่องจักรไม่ราบรื่น และต้องเปลี่ยนบ่อยๆ ดังนั้นการเลือกโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เราควรพิจารณาหน้างานด้วยว่าอยากใช้แรงดันอากาศมากน้อยเท่าใด มีการออกแบบระบบควบคุมที่ดีแล้วก็ถูกต้องได้มาตรฐานหรือไม่ ขนาดของกระบอกลมนิวเมติกส์ แล้วก็ แรงดันของกระบอกลม นิวเมติกส์ที่อยากซื้อไปนั้นสามารถให้แรงดันที่เพียงพอกับหน้างานหรือไม่ เป็นต้น

 

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับ ระบบ Pneumatic ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น ทางทีม GFT มีจำหน่าย ราคาถูกและดี มีคุณภาพและการรับประกัน ภายใต้ลิขสิทธิ์จาก AirTAC ประเทศไต้หวัน และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

บทความที่น่าสนใจ

วาล์วหัวขับลม

“วาล์วหนักเปิด-ปิดยาก เสียเวลา ทำงานยาก เปลืองแรง” ทั้งหมดนี้ หัวขับลมช่วยได้

“วาล์วหนักเปิด-ปิดยาก เสียเวลา ทำงานยาก เปลืองแรง” ทั้งหมดนี้ หัวขับลมช่วยได้ ทำความรู้จักกับหัวขับลม AP Series หัวขับลมคุณภาพ จากแบรนด์ SIRCA

Read More
นิวเมติกส์

ความแตกต่างระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก แท้จริงแล้วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้ง 2ชนิดนี้ใช้การเคลื่อนไหวประเภทเดียวกัน และใช้ของเหลวในการส่งพลังงานเชิงกล

Read More
ข้อต่อลม

ข้อต่อลม อุปกรณ์ระบบนิวแมติกส์ที่ใช้กับสายลม

ข้อต่อลม อุปกรณ์ระบบนิวแมติกส์ที่ใช้กับสายลม ข้อต่อลม หรือ ฟิตติงลม (Fitting) เป็นข้อต่อสำหรับใช้เสียบกับ “สายลม” ใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์นิวแมติกส์ โดยมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างตัวอุปกรณ์นิวแมติกส์

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save