วาล์วควบคุมทิศทาง

เจาะลึก เรื่องวาล์ว..สัญลักษณ์วาล์วควบคุมทิศทางคืออะไร ?

วาล์วเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหลายๆประเภท ซึ่งวาล์วที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้เป็นอุปกรณ์ในลักษณะที่ใช้เกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนที่เพื่อควบคุมทิศทางจึงเรียกว่าวาล์วควบคุมทิศทางนั่นเอง 

วาล์วควบคุมทิศทางคืออะไร

วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional control valve) มีหน้าที่สำคัญของวาล์วคือ การควบคุมเส้นทางการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ให้เป็นไปตามทิศทางที่เราต้องการ จึงเรียกว่าวาล์วควบคุมทิศทาง  โดยวาล์วจะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในระบบนิวเมติกส์ (pneumatic system)

​​ส่วนประกอบของวาล์วควบคุมทิศทาง

การใช้งานวาล์วควบคุมทิศทางจะต้องรู้ก่อนว่าวาล์วควบคุมทิศทางนั้นมีส่วนประกอบอย่างไร โดยจะแบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 ส่วน คือ  Spool A, Spool B และส่วนกำหนดทิศทางการไหลของลม จะเป็นสัญลักษณ์วาล์วควบคุมทิศทางที่บ่งบอกถึงการใช้งานในแต่ละอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการทำงานโดยดูสัญลักษณ์วาล์วว่าวาล์วนี้ควบคุมด้วยมือถือควบคุมด้วยเท้าหรือใช้ระบบไฟฟ้าหรือระบบอื่นๆในการควบคุมทิศทาง

​​สัญลักษณ์วาล์วควบคุมทิศทางคืออะไร

เมื่อรู้จักส่วนประกอบของวาล์วควบคุมทิศทางดีแล้ว จะทราบได้ว่าสัญลักษณ์ของวาล์วควบคุมทิศทางแต่ละส่วนเป็นอย่างไร เนื่องจากรูปสัญลักษณ์การควบคุมการทำงานของแต่ละฝั่ง Spool

สัญลักษณ์ คำอธิบาย

1. ลักษณะแบบทั่วไป (General) เป็นลักษณะปุ่มกดแบบทั่วๆไป ระบบ (manual control)

2. ลักษณะแบบใช้มือ (Push Buttom) ลักษณะแบบทั่วไปและใช้มือกด ระบบ (manual control)

3. ลักษณะแบบการใช้คันโยก (Lever) จะใช้วิธีโยกอุปกรณ์จึงจะเปิดปิดการใช้งาน ระบบ (manual control)

4.การทำงานโดยใช้วิธีดึงหรือด้าน เป็นการทำงานโดยการใช้มือควบคุม (Detent) ระบบ (manual control)

5. แบบใช้เท้าเหยียบ จะมีการควบคุมการทำงานด้วยการเหยียบ (foot pedal) ระบบ (manual control)

6.ระบบกลไกภายนอกในการควบคุมการทำงาน (Plunger) ระบบ (manual control)

7. ระบบควบคุมการทำงานโดยใช้ลูกกลิ้ง (Roller) ระบบ (manual control)

8. ระบบการทำงานโดยใช้ลูกกลิ้งเพียงทิศทางเดียว (Roller Trip) ระบบ (manual control)

9.ระบบการทำงานโดยใช้ตัวควบคุมคือสปริง (Spring) ระบบ (manual control)

10.การทำงานโดยการใช้แรงดันลมทางตรง (Pressure) ระบบลมอัด (pneumatic control)

11. การทำงานโดยการใช้แรงดันลมเพื่อดันวาว์ลทางอ้อม (Pressure Apply to Pilot Value) ระบบลมอัด (pneumatic control)

12.การใช้แม่เหล็กไฟฟ้าในการควบคุมวาล์ว () เป็นการทำงานโดยใช้ระบบกลไกไฟฟ้า (electrical control) เช่น โซลินอยด์ (solenoid)

การอ่านสัญลักษณ์วาล์วควบคุมทิศทาง

เมื่อเรารู้สัญลักษณ์ของวาล์วควบคุมทิศทางแล้ว เราจะต้องมาดูความหมายและตำแหน่งจึงจะอ่านสัญลักษณ์วาล์วควบคุมทิศทางได้ ซึ่งการอ่านจะต้องดูรายละเอียดสัญลักษณ์ของวาล์วดังต่อไปนี้

ตัวอย่างรูปภาพประกอบการอธิบาย

  1. อ่านจำนวน เรียกว่า พอร์ต 

เพื่อดูว่าวาล์วควบคุมมีกี่จุด ให้สังเกตสัญลักษณ์วาล์วควบคุมทิศทางคือ รูปตัว T โดยจะมีทั้งหมด 2 ตัวในรูป ที่หันหัวชนกัน หากตัวที่ตั้งอยู่บนกรอบสี่เหลี่ยมมุมไหนบ้างให้นับเป็น 1 จุดหรือ 1 พอร์ต ดังนั้น เท่ากับในรูปภาพประกอบจะมีวาล์วทั้งหมด 2 Port

  1. อ่านจำนวน เรียกว่า ตำแหน่ง

เพื่อดูว่าวาล์วควบคุมตำแหน่งนั้นมีกี่ตำแหน่ง โดยจะสังเกตจากรูปภาพประกอบ คือ รูปสี่เหลี่ยมได้เลยทันที ซึ่งกรอบสี่เหลี่ยม 1 กรอบแทนความหมายของตำแหน่งวาล์ว 1 ตำแหน่ง ดังนั้น เท่ากับในนี้มีวาล์วควบคุมตำแหน่ง Spool ทั้งหมด 2 ตำแหน่ง

  1. ดูสัญลักษณ์การไหลหมุนเวียน

สุดท้ายสัญลักษณ์ลูกศร และตัว T หมายถึง สัญลักษณ์วาล์วควบคุม โดยจะบอกถึงทิศทางการไหลเวียนของลม โดยลูกศร ทำหน้าที่บอกทิศทางที่เคลื่อนไป ส่วนตัว T แทนตำแหน่งที่ปิดกั้น

สรุป

เพราะการใช้งานสัญลักษณ์วาล์วควบคุมจะต้องเข้าใจเพื่อไม่ให้ใช้งานผิดประเภท ท่านสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ รอบรู้เรื่องสัญลักษณ์วาล์วควบคุมกับเราได้ทันที ..มืออาชีพเรื่องอุปกรณ์ระบบลม Pneumatic และระบบอัตโนมัติ … GFT ตัวแทนจำหน่ายสินค้า AirTAC อันดับหนึ่งในไทย

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

บทความที่น่าสนใจ

ข้อต่อลม

ข้อต่อลม อุปกรณ์ระบบนิวแมติกส์ที่ใช้กับสายลม

ข้อต่อลม อุปกรณ์ระบบนิวแมติกส์ที่ใช้กับสายลม ข้อต่อลม หรือ ฟิตติงลม (Fitting) เป็นข้อต่อสำหรับใช้เสียบกับ “สายลม” ใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์นิวแมติกส์ โดยมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างตัวอุปกรณ์นิวแมติกส์

Read More
นิวเมติกส์

ความแตกต่างระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก แท้จริงแล้วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้ง 2ชนิดนี้ใช้การเคลื่อนไหวประเภทเดียวกัน และใช้ของเหลวในการส่งพลังงานเชิงกล

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save