กระบอกนิวเมติกส์

ก่อนสั่งทำกระบอกนิวเมติกส์ ต้องรู้อะไรบ้าง ?

สั่งทำกระบอกนิวเมติกส์

ระบบนิวเมติกส์ (pneumatic system) คือ ระบบลมอัดอากาศส่งไปตามท่อที่ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมอัดให้เป็นพลังงานกลลักษณะในการเคลื่อนที่ส่วนมากเป็นการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยชุดต้นกำลัง ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “ปั๊มลม” ปั๊มลมจะทำหน้าที่ส่งลมอัดให้กับอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ จากปั๊มลมไปสู่เครื่องระบายความร้อน > ไปสู่เครื่องทำลมแห้ง > ไปสู่ชุดกรองลม > ไปสู่วาล์วลม > ไปสู่กระบอกลมหรือมอเตอร์หรือหัวขับลม ทำให้ระบบทำงานได้  โดยอุปกรณ์ด้านนิวเมติกส์ จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์พื้นฐาน ดังนี้

อุปกรณ์ต้นกำลังนิวเมติกส์ (compressor air)

เป็นตัวที่จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานเครื่องยนต์ ให้เป็นพลังงานลมอัด เพื่อที่จะสร้างความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ อาจจะแบ่งเครื่องปั้มลมออกได้ 3 ขนาด คือขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ตัวปั๊มลมจะสร้างความดันลมอัดได้ระหว่าง 1-16 บาร์(bar) (หรือบางรุ่นอาจจะสร้างความดันได้มากกว่า 16บาร์ขึ้นไป) ส่วนมากอุปกรณ์นิวแมติกส์จะใช้แรงดันอยู่ไม่เกิน 10 บาร์(bar)

อุปกรณ์ควบคุมคุณภาพลมอัด (treatment component)

หรือชุดปรับปรุงคุณภาพลม FRL Unit เพื่อให้อากาศอัดปราศจากฝุ่นละออง เช่น คราบน้ำมันและน้ำ ก่อนที่จะไปใช้ในระบบนิวเมติกส์

อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (controlling component)

ทำหน้าที่ในการเริ่มและหยุดการทำงานของวงจร ทิศทาง,อัตราการไหลและ ความดัน โดยใช้ วาล์วควบคุมในระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic valves)  เช่น Solenoid Valve เป็นต้น

อุปกรณ์การทำงาน (actuator or working component)

ทำหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังกล เช่น กระบอกสูบลมชนิดต่าง ๆ

อุปกรณ์ในระบบท่อทาง (piping system)

ใช้เป็นท่อทางไหล ที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์มีทั้งท่อแบบ เหล็ก ,ทองแดง หรือพลาสติก ขึ้นอยู่กับการใช้งานรวมถึง ข้อต่อท่อลม (couplings) ที่จะสร้างความสะดวกในการ ลำเลียงของไหล

หลาย ๆ คนที่กำลังจะสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ คงจะมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่าเราต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง เพราะส่วนประกอบของระบบนิวเมติกส์นั้นถือว่ามีอยู่มาก มีหลากหลายรูปแบบ การที่เราจะสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ ก็อยากเลือกที่มีคุณภาพดี สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน และอายุของการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย เราจะต้องมีการคำนวณหาค่าต่างๆ ให้มีความถูกต้องก่อนว่า ประเภทงานของเราที่ต้องการนำกระบอกลมนิวเมติกส์มาใช้งานนั้นมีลักษณะอย่างไร ความต้องการของกระบอกลมนิวเมติกส์ โดยค่าพื้นฐานต้องมีอะไรบ้าง ซึ่งการคำนวณค่าต่างๆ ทาง GFT ของเราก็จะมาแนะนำขั้นตอนการสั่งทำกระบอกนิวเมติกส์ ง่ายๆ มีดังต่อไปนี้

1. เลือกชนิดของกระบอกนิวเมติกส์

ให้พิจารณาจากงานที่จะนำไปใช้ ชนิดของกระบอกลม เช่น 

          – กระบอกลมทางเดียว (single-acting cylinders) ซึ่งจะเหมาะกับงานที่มีแรงกระทำไม่มากนัก

          – กระบอกลมสองทิศทาง (Double-acting cylinders) กระบอกลมประเภทนี้จะใช้แรงดันลมกระทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่สองทิศทาง แรงกระทำที่ได้จะมากกว่ากระบอกลมทิศทางเดียว เหมาะสำหรับใช้กับงานทุกประเภท 

          – กระบอกลมชนิดมีตัวกันกระแทก (cushioned cylinders) การเคลื่อนที่เข้าออกของกระบอกลมที่มีอัตราเร็วและความเร็วสูงจะทำให้เกิดการกระแทกระหว่างลูกสูบและฝาสูบเมื่อออกหรือเข้าสุดระยะชัก กระบอกลมกันกระแทกนี้ถือเป็นตัวป้องกันไม่ให้กระบอกลมชำรุดหรือเสียหายได้

2. เลือกขนาดของกระบอกลม

ระบบนิวเมติกส์แต่ละระบบมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ในการเลือกกระบอกลมนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ขนาดของแรงที่กระทำกับปลายก้านสูบและระยะของกระบอกลมที่ใช้งาน โดยการบอกค่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO และระยะชักที่นิยมใช้กันจะมีหน่วยเป็น มิลลิเมตร ฉะนั้นการคำนวณค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าความแรง ความดัน และพื้นที่ที่ต้องใช้งาน จึงมีความสำคัญเพื่อกำหนดขนาดของกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ถูกต้อง

3. มาตรฐานกระบอกนิวเมติกส์

ในการเลือกอุปกรณ์มาใช้งานสิ่งที่ผู้ซื้อต้องการมากที่สุดคือเรื่องของคุณภาพ ดังนั้นการที่เราจะเลือกซื้ออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามควรดูและศึกษาว่ากระบอกนิวเมติกส์หรืออุปกรณ์นั้น ๆ ได้รับมาตรฐานหรือไม่ ผู้ผลิตและผู้แทนขายมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ซึ่งทาง GFT เรามีผู้เชี่ยวชาญมุ่งเน้นผลิตอุปกรณ์นิวเมติกส์คุณภาพเพื่อให้รองรับการใช้งานได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ให้ตอบโจทย์การใช้งาน

4. เลือกชนิดของวาล์ว

โดยการเลือกเมนวาล์ว ขนาดของวาล์ว ให้ดูจากลักษณะของงานที่จะนำไปใช้ เช่น ทางต่อลม ตำแหน่งของวาล์ว และการเลื่อนเปลี่ยนการทำงานของวาล์ว

5. เลือกอุปกรณ์ควบคุมความเร็ว

และชนิดของการควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ ซึ่งการเลือกนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน เช่น กระบอกลม ควรใช้ speed flow control ที่เป็นเกลียวเสียบสายลม หรือที่เป็น speed flow control เสียบสายลมแบบ 2 ด้านหัวท้าย เป็นต้น

6. อุปกรณ์ในการติดตั้ง

หนึ่งในนั้นก็จะเป็นอุปกรณ์ในระบบท่อทาง ซึ่งเป็นท่อที่ใช้ส่งของไหลของลมอัดในระบบนิวเมติกส์ ท่อลมที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์ จะทำมาจาก ท่อเหล็ก ท่อทองแดง หรือท่อพลาสติก การนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและความเหมาะสมในการใช้งาน นอกจากเรื่องวัสดุแล้วสิ่งที่ควรคำนึงคือ สภาพการทนต่อความดันลมและอุณหภูมิควรทนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมี ข้อต่อท่อลมเป็นอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การทำงานมากยิ่งขึ้น และอีกอย่างที่จะขอแนะนำคือ อุปกรณ์เก็บเสียงเป็นอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยลดเสียงที่เกิดเนื่องจากการระบายลมทิ้งของวาล์วควบคุมได้นั่นเอง

สรุป

เพียงสั่งอุปกรณ์กับเรา เรามีบริการประกอบ กระบอกนิวเมติกส์ แพคให้อย่างดี พร้อมใช้ประหยัดแรงงาน ไม่ต้องมาปวดหัว มีเวลาไปดูแลธุรกิจของคุณ สนใจติดต่อทีมเซลล์ของเราได้เลยนะคะ ☺️ แจ้งความต้องการ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เรามีวิศวกรในการออกแบบกระบอกสูบให้เหมาะสำหรับการใช้งานจริงมีคุณภาพ ประกอบชิ้นส่วนทุกชิ้น โดยช่างผู้ชำนาญด้านกระบอกสูบมาอย่างยาวนาน เลือกซื้ออุปกรณ์นิวเมติกส์ AirTAC ถูกและดี รับประกันคุณภาพภายใต้ลิขสิทธิ์แท้ จาก AirTAC ประเทศ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลจากเว็บ : ThaiA.net

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

บทความที่น่าสนใจ

โซลินอยด์วาล์ว

ทำอย่างไร…หากโซลินอยด์วาล์วที่ใช้อยู่ไม่ทำงาน

ทำอย่างไร...หากโซลินอยด์วาล์วที่ใช้อยู่ไม่ทำงาน มาลองตรวจสอบเบื้องต้น รวมถึงรู้วิธีแก้ไข การเสียหายของโซลินอยด์วาล์ว...ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save